วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์

การเปรียบเทียบที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์ ซึ่งมีขั้นของการเปรียบเทียบอยู่ 3 ชั้น ได้แก่1. ขั้นปกติ (Positive degree) เช่น tall , big
2. ขั้นกว่า (Comparative degree) เช่น taller , bigger
3. ขั้นสูงสุด (Superlative degree) เช่น tallest , biggest

การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์
(The Comparison of Adjective)
การเปลี่ยนคำคุณศัพท์ขั้นปกติให้เป็นขั้นกว่าและขั้นสูงสุด
1. คำคุณศัพท์พยางค์เดียวที่ล้งท้ายด้วยตัวสะกด 2 ตัว หรือที่มีตัวสะกดตัวเดียวแต่มีสระ 2 ตัว ให้เติม -er เพื่อทำเป็นขั้นกว่าและเติม -est เพื่อทำเป็นขั้นสูงสุด เช่น
Positive Comparative Superlative
Long Longer Longest
Small Smaller smallest
2. คำคุณศัพท์พยางค์เดียวมีสระตัวเดียวและตัวสะกดตัวเดียวให้ Double ตัวสะกดก่อนและเติม -er ในชั้นกว่าและเติม -est ในขั้นสูงสุด เช่น
Positive Comparative Superlative
Hot Hotter Hottest
Big Biger biggest
3. คำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -y และหน้า y เป็นพยัญชนะ เปลี่ยน y เป็น I ก่อนแล้วเติม -er ในขั้นกว่าแลเติม -est ในขั้นสูงสุด เช่น
Positive Comparative Superlative
Happy Happier Happiest
Lucky Luckier luckiest
ถ้าหน้า y เป็นสระเติม -er และ -est ได้เลยเช่น

4. คำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -e อยู่แล้ว เติมเฉพาะ -r ในขั้นกว่าและเติม -st ในขั้นสูงสุด เช่น
Positive Comparative Superlative
Fine Finer Finest (ดีงาม)
True Truer Truest(จริง)
5. คำคุณศัพท์ 2 พยางค์ที่ลงท้ายด้วย -er,-re,-leและ -owให้เติม -er ในขั้นกว่าและเติม -est ในขั้นสูงสุด เช่น
Positive Comparative Superlative
Clever Cleverer Cleverest(ฉลาด)
Bitter Bitterer Bitterest(ขม)
6. คำคุณศัพท์ 2 พยางค์ที่มีเสียงยาว ให้เติม more ข้างหน้าเพื่อทำเป็นขั้นกว่าและเติม most ข้างหน้าเพื่อทำเป็นขั้นสูงสุด เช่น
Positive Comparative Superlative
Fertile More fertile Most fertile(สมบูรณ์)
Selfish More selfish Most selfish(เห็นแก่ตัว)
7. คำคุณศัพท์บางตัวจะเติม -er หรือใช้ more ในขั้นกว่าและเติม -est หรือ most ในขั้นสูงสุดก็ได้ เช่น
8. คำคุณศัพท็ที่มีตั้งแต่ 3 พยางค์ขึ้นไป ให้เติม more ข้างหน้าเพื่อทำเป็นขั้นกว่าและเติม most ข้างหน้าเพื่อทำเป็นขั้นสูงสุด เช่น
Positive Comparative Superlative
Difficult More difficult Most difficult
Diligent More diligent Most diligent
9. คำคุณศัพท์ที่มีรูปมาจากคำกริยา จะมีกี่พยางก็แล้วแต่ให้ใช้ more นำหน้าในขั้นกว่าและใช้ most นำหน้าในขั้นสูงสุด เช่น
Positive Comparative Superlative
Bored (เบื่อ) More bored Most bored
Boring (น่าเบื่อ) More boring Most boring
10. คำคุณศัพท์ต่อไปนี้จะเปลี่ยนแปลงรูปในชั้นกว่าและชั้นสูงสุด เช่น
Positive Comparative Superlative
Good Better Best (ดี)
Bad Worse Worst(เลว)
Little Less Least(น้อย)
Much/many More Most(มาก)
Far Farther/further Furthest(ไกล)
การเปรียบเทียบขั้นปกติ (Positive)
การเปรีบเทียบขั้นปกติ (Positive degree) ของคำคุณศัพท์ จะใช้แสดงการเปรียบเทียบเพื่อแสดงความเท่ากันและไม่เท่ากันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยมีรูปแบบการเปรียบเทียบดังนี้
1. ใช้โครงสร้าง as + adj + as เป็นตัวแสดงการเปรียบเทียบที่แสดงความเท่าเทียมกันระหว่าง as……as ให้เติมคำคุณศัพท์ (adjective) ที่ต้องการเปรียบเทียบ เช่น
Judy is as tall as Sylvia.
I'm as old as you are.
as……as ใช้แสดงการเปรียบเทียบที่เท่าเทียมกัน เมื่อต้องการแสดงความไม่เท่าเทียมกันให้เติม not หน้า as………as หรือใช้ not so…….as ก้อได้ เช่น
Rome is not as (so) old as Athens.
Box A is't as (so) big as Box B.
การ เปรียบเทียบขั้นกว่า (Comparative)
การเปรียบเทียบขั้นกว่าจะเปรียบเทียบระหว่างคน 2 คนหรือกลุ่ม 2 กลุ่ม เท่านั้นโดยใช้คำคุณศัพท์ขั้นกว่า (Comparative degree) และ than หลักการใหญ่ ๆ ของการเปรียบเทียบขั้นกว่าทำได้ดังนี้ คือ
1. นำคำคุณศัพท์ (adjective) มาเติม -er แล้วตามด้วย than (ดูหลักการเดิม -er ที่คำคุณศัพท์) เช่น
I am shorter than you.
Martin is taller than Helen.
2. เติม more หน้าคำคุณศัพท์ที่ไม่เติม -er แล้วตามด้วย than เช่น
Good health is more important than money.
Math test is more difficult than English test.

การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด (Superlative)
การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด ใช้เปรียบเทียบกับคำนามที่มีจำนวนตั้งแต่ 3 ขึ้นไป มีความหมายว่า " ที่สุด " ให้นักเรียนศึกษารายละเอียดต่อไปนี้
1. ให้เติม -est ท้ายคำคุณศัพท์และเติม the หน้าคำคุณศัพท์ด้วย เช่น
Donny is the tallest of the three boys.
The Nile is the longest river in the world.
2. ให้เติม the most หน้าคำคุณศัพท์ เช่น
Sue is the most beautiful in her family.
Porntip is the most intelligent woman in her group.


การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ (The comparison of Adverbs)
การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ (adverb) เพื่อแสดงให้ทราบว่าลักษณะอาการกริยาของบุคคลนั้นกับอีกของบุคคลหนึ่ง มีมากน้อยกว่ากันหรือไม่ การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์แบ่งออกเป็น 3 ขั้น เช่นเดียวกับการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์คือ ขั้นปกติ ขั้นกว่า ขั้นสูงสุด
การสร้างกริยาวิเศษณ์ขั้นกว่าและขั้นสูงสุด
คำกริยาวิเศษณ์ขั้นปกติ เมื่อต้องการทำให้เป็นขั้นกว่าและขั้นสูงสุดสามารถทำได้ดังนี้
1. กริยาวิเศษณ์ที่มีพยางค์เดียว เมื่อต้องการให้เป็นขั้นกว่าให้เติม -er และเมื่อต้องการทำเป็นขั้นสูงสุดให้เติม -est เช่น
Positive Comparative Superlative
Fast Faster Fastest (เร็ว)
Hard Harder Hardest (หนัก)
2. กริยาวิเศษณ์ที่มีรูปมากจากคำคุณศัพท์ (adjective) โดยการเติม -ly ให้เติม more ข้างหน้า เมื่อทำเป็นขั้นกว่าและเติม most ข้างหน้าเมื่อต้องการทำเป็นขั้นสูงสุด เช่น
Positive Comparative Superlative
Slowly More slowly Most slowly
Quickly More quickly Most quickly
3. กริยาวิเศษณ์ต่อไปนี้จะเปลี่ยนรูปเมื่อเป็นขั้นกว่าและขั้นสูงสุด เช่น
Positive Comparative Superlative
Badly Worse Worst
Far Farther / further Farthest / furthest
Little Less Least
Much More Most
Well Better Best
การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ขั้นที่เท่ากัน (Positive Degree)
ได้แก่การเปรียบเทียบลักษณะอาการของกริยาของคน 2 คนหรือสิ่งของสองสิ่งที่มีความเท่าเทียมกันหรือเสมอกัน โดยใช้รูปประโยค ……as + adverb + as…. เช่น
He worked as slowly as he dared.
They can swim as fast as I can.
เมื่อต้องการเปรียบเทียบความไม่เท่ากัน ในกรณีที่เป็นปฏิเสธจะใช้รูปประโยคดังนี้
not so / as + adverb + as…..เช่น
He doesn't snore so loudly as you do. (snore = กรน)
He doesn't snore as loudly as you do.
It didn't take as long as I expected.
It didn't take so long as I expected.
การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ขั้นกว่า (Comparative Degree)
เป็นการเปรียบเทียบลักษณะอาการของนามที่มีมากกว่ากันระหว่าง คน 2 คน สัตว์ 2 ตัว จำนวนหรือสิ่งของ 2 อย่างก็ได้ โดยใช้รูปประโยคดังนี้
Comparative adverb + than…. เช่น
She eats more quickly than I do.
They played better than they had ever played.
การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ขั้นสูงสุด (Superlative Degree)
การเปรียบเทียบลักษณะอาการกริยาของคำนามที่มีจำนวนตั้งแต่ 3 ขึ้นไป เพื่อบอกให้ทราบว่าในจำนวนเหล่านั้น คนไหน สิ่งไหน มีกริยาอาการเป็นที่สุด โดยใช้รูปประโยคดังนี้
เติม -est
…..superlative adverb
ใช้ most + adverb
เช่น
Paul writes most neatly.
My students work most lazily.